การทำบุญขึ้นบ้านใหม่
วันขึ้นบ้านใหม่ ฤกษ์ที่เป็นวันดี ได้แก่ วันพุธ วันพฤหัสบดี และวันศุกร์

วันต้องห้ามตามคติโบราณ ห้ามขึ้นบ้านวันเสาร์ เนื่องจากตามหลักโหราศาสตร์แล้ว ถือกันว่าเป็นวันแห่งโทษทุกข์ และดาวเสาร์ยังจัดว่าเป็นดาวแห่งบาปเคราะห์ แต่การขึ้นบ้านใหม่ต้องการความร่มเย็น ความสุข และความมั่นคงถาวร ดังนั้น คนโบราณจึงห้ามไม่ให้ประกอบพิธีมงคลทุกชนิด
การทำบุญงานศพ
วันห้ามเผาศพ มีคติความเชื่อเกี่ยวกับการเผาศพอยู่หลายนัย คือ ห้ามเผาวันคี่ วันข้างแรม ต้องเผาวันคู่ และยังห้ามเผาใน วันพระและวันศุกร์ เพราะถือว่าวันนี้เป็นวันดี เหมาะแก่การทำงานมงคล อันเนื่องมาจากคำว่า ศุกร์ พ้องสียงกับคำว่า สุข และคำว่า ศุกร์ ยังมีความหมายคล้ายกับคำว่า สุก คือ เผาไม่ไหม้
ส่วนในพิธีศพ ตั้งแต่ถึงแก่กรรมจนกระทั่งเผา ไม่มีการวางด้ายสายสิญจน์และตั้งบาตรน้ำมนต์ หลังจากเผาศพเสร็จแล้วจะทำบุญอัฐิจึงกระทำได้
การทำบุญครบรอบอายุ
การทำบุญครบรอบอายุ มักนิยมทำกันเมื่ออายุ 25 ปี ที่เรียกว่า เบญจเพส เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะย่างเข้าสู่สภาวะผู้ใหญ่ หรืออาจทำกันเมื่อมีอายุครบ 2 รอบ 3 รอบ 4 ไปจนถึง 5-6 รอบ การทำบุญใส่บาตรวันครบรอบวันเกิดนี้ เพื่อเป็นการสร้างสมบุญวาสนาบารมี เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น
วิธีปฏิบัติ ให้ได้รับอานิสงส์ผลดี คือ การทำบุญใส่บาตรประจำวันเกิดนี้ นิยมใส่บาตรพระเท่าอายุ หรือเกินกว่าอายุ 1 รูป เช่น คนอายุ 25 ปี ก็นิยมใส่บาตรพระ 25 รูป หรือ 26 รูป

การทำบุญในวันมาฆบูชา
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำดือน 3 แต่ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาสคือมีเดือน 8 สองหน วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปวันกลางเดือน 4
การประกอบพิธีกรรม พุทธศาสนิกชนเตรียมดอกไม้ธูปเทียนไปพร้อมกันที่โบสถ์ โดยยืนหลังพระภิกษุหรือสามเณร จุดธูปเทียน พนมมือ แล้วเปล่งคำบูชาวันมาฆะ ต่อจากนั้นก็เดินเวียนรอบโบสถ์ 3 รอบ แล้วนำธูปเทียนเครื่องสักการะไปวางไว้ที่ทางวัดจัดเตรียม และเข้าฟังพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์ หลังจากนั้นพระสงฆ์ก็จะมี การเทศน์แสดงโอวาทปฏิโมกข์
การทำบุญในวันวิสาขบูชา
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 แต่ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาสคือมีเดือน 8 สองหน จะเลื่อนไปทำในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7
การประกอบพิธีกรรม จะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และตอนเย็นจะมีการเวียนเทียนโดยพุทธศาสนิกชนไปพร้อมกันที่โบสถ์ จากนั้นจุดธูปเทียน พนมมือกล่าวคำบูชา แล้วถือดอกไม้เดินเวียนขวารอบโบสถ์ 3 รอบ ด้วยใจสงบร่มเย็น พร้อมกับกล่าวคำสวดพระพุทธคุณและสังฆคุณด้วย เมื่อจบแล้วนำธูปเทียนไปปัก แล้วเข้าไปฟังพระสงฆ์ทำวัตร
สวดมนต์
การทำบุญในวันอาสาฬหบูชา
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
การประกอบพิธีกรรม จะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และในตอนเย็นจะมีการเวียนเทียนเช่นเดียวกับที่ปฏิบัติในวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา แต่การแสดงธรรมของพระสงฆ์ คือ?การเทศน์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
การทำบุญในวันเข้าพรรษา
อานิสงส์การถวายเทียนพรรษา
1.ทำให้เกิดปัญญาทั้งชาตินี้และชาติหน้า เปรียบเสมือนแสงสว่างแห่งเทียน
2.ทำให้สว่างไสวรุ่งเรืองด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ
3.ทำให้เรื่องร้ายกลายเป็นดี
4.ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
5.เมื่อลาลับโลกนี้ไปย่อมไปสู่สุคติสวรรค์
การทำบุญในวันออกพรรษา
การทำพิธีในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 หลังจากการอยู่พรรษามาครบ 3 เดือน พุทธศาสนิกชนจะมีการทำบุญตักบาตร เรียกว่า การตักบาตรเทโว และมีพิธีของแต่ละถิ่น เช่น พิธีตักบาตรข้าวต้มมัดของภาคใต้พิธีแห่พระพุทธรูป การทอดผ้าป่า และการทอดกฐิน

การทำบุญงานแต่งงาน
งานแต่งงานมักจะตั้งตนด้วยการขึ้นเรือน ที่เรียกว่า เรือนหอ คือมีการสวดมนต์เย็น รุ่งเช้าก็เลี้ยงพระให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวใส่บาตรด้วยกัน เพื่อแสดงว่าร่วมวาสนากัน
การจัดพิธีแต่งงานเป็น 2 อย่างคือ จัดเป็นพิธีใหญ่ มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ และผู้เป็นประธานในพิธีตลอดจนผู้มีเกียรติที่ได้รับเชิญมาร่วมกันหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ อวยพร และในเวลาเดียวกันพระสงฆ์ก็เจริญชัยมงคลคาถา
การปฏิบัติในพิธีแต่งงาน
ในวันพิธีสมรส เจ้าสาวต้องอยู่ทางซ้ายของเจ้าบ่าวตลอดเวลา เพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาว ตามปกติมีฝ่ายละไม่เกิน 4 คน และต้องอยู่หลังเจ้าบ่าวเจ้าสาวในระยะพอสมควร
เมื่อถึงกำหนดฤกษ์การแต่งงาน เจ้าบ่าวเข้าสู่มณฑลพิธี ส่วนผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวนำเจ้าสาวเข้าสู่พิธี จากนั้นบ่าวสาวคุกเข่าที่หน้าแท่นบูชาพระพุทธรูป ประธานในพิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์แล้วเจิมหน้าคู่บ่าวสาว และถ้ามีพระสงฆ์มาร่วมพิธีสงฆ์ก็เจริญชัยมงคลคาถาในตอนนี้?และเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว ทั้งคู่สมรสถวายอาหารหรือจตุปัจจัยแด่พระภิกษุสงฆ์ พระสงฆ์สวดอนุโมคาถาคู่สมรสนมัสการ กราบพระพุทธรูป และรับพรจากผู้มาร่วมงาน
ข้อมูลโดย : อ.รักษ์ Horolive
เรียบเรียงโดย
